แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2564
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้รับการป้องกัน บำบัด และฟื้นฟู
กลยุทธ์ที่ 2.2 การเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ
เป้าหมาย
สิ่งแวดล้อมได้รับการจัดการที่ดีอย่างมีคุณภาพทั้งการป้องกัน บำบัด ฟื้นฟู และการถ่ายทอดสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่รุ่นต่อไป
ตัวชี้วัด
1 คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 80
2 คุณภาพอากาศมีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 99
3 ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 โดยมีอัตราการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ (Recycle) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศ
4 ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการรวบรวมและส่งไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
5 จำนวนพื้นที่สีเขียวในเมือง ไม่น้อยกว่า 10 ตารางเมตรต่อคน
6 มาตรฐานคุณภาพของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมได้รับการพัฒนา
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
2.2.1.1 สร้างกลไกการเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบฉุกเฉิน รวมถึงการเยียวยาในระยะสั้น และระยะยาว โดยจัดตั้งระบบกองทุนฉุกเฉิน เพื่อชดเชยค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ร่วมกับการศึกษาและกำหนดใช้มาตรการทางการคลังที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นไปตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สามารถเรียกเก็บค่าเสียหายจากผู้ประกอบการ เพื่อรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ในระยะยาว ถึงแม้โครงการจะสิ้นสุดลงไปแล้ว | |
2.2.1.2 พัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การพิสูจน์ความเสียหาย การปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูล พร้อมข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ตลอดจนผลักดันให้จัดตั้งองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม |
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
2.2.2.1 ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์มลพิษในพื้นที่วิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องในทุกช่องทาง โดยเฉพาะมลสารที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบและความเสี่ยงต่อสุขภาพ | |
2.2.2.2 ฟื้นฟูพื้นที่วิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่มีมลพิษปนเปื้อน และเขตควบคุมมลพิษ ซึ่งอาจดำเนินเป็นโครงการนำร่อง หรือจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ เพื่อระดมทรัพยากรในการเร่งแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ และมีการบังคับใช้กฎหมายร่วมด้วยอย่างจริงจัง เพื่อสร้างมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติที่ดี |